10 ทริป!! ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของสตูดิโอ


ใครกำลังคิดการใหญ่ อยากเป็นเจ้าของสตูดิโอฟังทางนี้!!!!!!!!!!! มีคำแนะนำดีๆจากบุคคลที่คลุกคลีอยู่ในวงการ Design มาฝากจ้า



1. มองทุกอย่างตามความเป็นจริง
Anna Haigh,ผู้ก่อตั้ง,Action Cat
อย่าได้ปล่อยให้ค่าใช้จ่ายบานปลายจนการเงินอยู่ในภาวะเสี่ยง ในระยะเริ่มต้นคุณควรจะเริ่มทำงานในบ้านของตัวเอง จนกระทั่งมีฐานลูกค้าที่คุณแน่ใจว่าเขาจะป้อนงานให้คุณเป็นประจำวิธีการแชร์สตูดิโอก็เป็นความคิดที่ดี หรืออย่างการจ้างฟรีแลนซ์ก็จะช่วยลดความกังวลเรื่องการจัดหาที่นั่งในที่ทำงานลงไปได้


2. ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์
Todd Albertson, ผู้ร่วมก่อตั้ง, Weapon of Choice
“ระยะทางไม่ใช่อุปสรรคในการทำงาน  (Albertson อาศัยอยู่ในแวนคูเวอร์ในขณะที่หุ้นส่วนอย่าง Tom Brown อยู่ที่วอชิงตัน) เราใช้ iChat ในการสร้าง virtual studio และแลกเปลี่ยนไฟล์กันเพื่อดูฟีดแบ็กของแต่ละคน ใครที่มีพาร์ตเนอร์อยู่ไกลลองใช้วิธีนี้ดู แล้วระยะทางก็จะกลายเป็นแค่เรื่องทางเทคนิคเท่านั้นเอง”

3. จงเป็นหัวแถวของวงการ
Dan Moore,ผู้ร่วมก่อตั้ง,Studio Output
“งานอาจจะหายากขึ้นยิ่งถ้าเป็นงานที่จะได้ค่าตอบแทนงามๆ ล่ะก็แทบไม่มีเลยล่ะ ฉะนั้นคุณต้องทำให้ตัวเองกลายเป็นตัวเลือกแรกของลูกค้าให้ได้ การบาลานซ์กันระหว่างธุรกิจกับศิลปะจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคนี้ คุณควรจะสร้างงานอย่างตั้งใจแบบที่ไม่ต้องอายถ้าบอกใครว่ามันมาจากสตูดิโอคุณและในขณะเดียวกันลูกค้าก็ชอบมันด้วย

4. โลเคชั่นเป็นเรื่องที่ไม่ควรลืม
Paul Gray,ผู้ก่อตั้ง,Suisse Design
ด้วยหลายๆ เหตุผล ทั้งในแง่การเงินและการทำงาน  คุณเคยได้ยินคำว่า ถูกที่ถูกเวลา ไหมเพราะลำพังแค่การสร้างงานดีๆ ก็ยากพออยู่แล้ว ถ้าคุณจะต้องมานั่งทำงานในที่ที่ไม่เหมาะจะทำงานอีก มันจะทำให้คุณมีแต่เรื่องปวดหัวเปล่าๆ”

5. บุคลิกเฉพาะตัวก็สำคัญไม่แพ้พอร์ตโฟลิโอ
Leif Steiner,ผู้ก่อตั้ง,Moxie Sozo
“ความแตกต่างเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ไม่มีลูกค้าคนไหนอยากได้งานจืดชืดเหมือนกระดาษเปล่าและไม่มีใครชอบงานพื้นๆ เหมือนกินข้าวแล้วต้องสั่งกะเพราะไก่ ผมก็ไม่เคยเห็นกิจการไหนที่ประสบความสำเร็จได้โดยขาดลักษณะเฉพาะที่เป็นตัวกำหนดทิศทางของงาน  ปกติแล้วลูกค้ามักสนใจคนที่มีความเห็น แนวคิดและความเชื่อที่ต่างออกไป การมีคนไม่กี่คนรักคุณอย่างหมดหัวใจน่าจะดีกว่าการที่มีคนเต็มไปหมดบอกว่าชอบคุณแต่ไม่เคยให้ความสนใจ”

6. ลองมองจากมุมลูกค้า
Barney Beech,ผู้ร่วมก่อตั้ง,THIS IS Studio
ถ้าคุณกำลังจะส่งพอร์ตโฟลิโอให้ลูกค้า ให้จำไว้เสมออะไรที่ทำให้ดีไซเนอร์อย่างคุณตื่นเต้นกับอะไรคนอื่นเขาก็ตื่นเต้นอย่างนั้น ผมมีทริกแนะนำว่าให้ทำพอร์ตโฟลิโอแบบเฉพาะของลูกค้าแต่ละคน การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และการเพิ่มอะไรที่คาดเดาไม่ได้เข้าไปจะช่วยทำให้ลูกค้าสะดุดตากับงานของคุณ

7. คำนึงถึงต้นทุน
Michael Paul Young,ผู้ร่วมก่อตั้ง,YouWorkForThem
“นำค่าใช้จ่ายของสตูดิโอในแต่ละวัน ไปเทียบกับงานหรือปัจจัยที่มีผลต่อกำไร แล้วก็แสดงศักยภาพและภาพลักษณ์ที่ดีที่สุดของสตูดิโอของคุณออกมา อย่าลืมว่าการพูดแบบปากต่อปากมีบทบาทอย่างยิ่งในวงการนี้ ดังนั้นสิ่งที่คุณปฏิบัติในเวลาที่ต้องไปคุยกับลูกค้าจึงต้องออกมาดีที่สุด”

8. โฆษณาตัวเองแบบมืออาชีพ
Robynne Raye,ผู้ร่วมก่อตั้ง,Modern Dog
“ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยอย่างหนึ่งที่ฉันเห็นก็คือดีไซเนอร์หน้าใหม่มักจะไม่รู้จักวิธีการโฆษณาหรือแม้แต่พูดเกี่ยวกับงานของตัวเอง เหตุผลระหว่างการทำงานกับเวลาที่ขายลูกค้ามันคนละเรื่องกันไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ฟอนต์นี้เพราะเหตุผลอะไรลูกค้าก็จะสนใจแค่ว่ามันอ่านง่ายหรือเปล่า จะทำให้คนซื้อเห็นโปรดักต์ง่ายขึ้นไหม”

9. คอนเน็กชั่นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
Tom Brandley,ผู้ร่วมก่อตั้ง,Root Studio
“เราเปิด Root Studio ทันทีที่เรียนจบ และพบว่ามีปัญหาหลักๆ คือเรื่องเงินทุน สถานที่ และลูกค้า โชคดีที่เราหาเรื่องทุนทัน และก็ได้ออฟฟิศที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจแหล่งใหม่ ส่วนเรื่องลูกค้าเป็นเรื่องที่จัดการยากอยู่สักหน่อย แต่พยายามเข้าไว้ ทำให้คนในวงการคุ้นหน้าคุณ แล้วงานก็จะตามมาเอง”

10. งานไม่ได้เงินก็สำคัญเหมือนกัน
Alex Bec,ผู้ร่วมก่อตั้ง,HudsonBec
“สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการบาลานซ์ระหว่างโจทย์ของงานกับความต้องการของตัวเอง บางครั้งเราก็คิดว่างานนี้เราได้รับค่าตอบแทนไม่ค่อยคุ้มค่าสักเท่าไหร่ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะมานั่งประชุมกันเพื่อให้งานออกมาดีที่สุดอยู่ดี”

ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร computer arts thailand

0 ความคิดเห็น:

Copyright © 2012 Graphic Know.